วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เราจำต้องเป็นกระเพาะอาหารของกันและกัน
...being stomach of each others..


นิทรรศการ:  เราจำต้องเป็นกระเพาะอาหารของกันและกัน  (...being stomach of each others… )                                 
ระยะเวลาในการจัดแสดง :  26 สิงหาคม – 26 ธันวาคม 2554
เปิดนิทรรศการ : 26 สิงหาคม 2554   เวลา : 18.00 น.
ศิลปิน : ปรัชญา พิณทอง
สถานที่:  หอศิลป์บริการ, บริเวณคิวมอเตอร์ไซด์รับจ้างด้านข้างหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพ

              มหานคร (BACC)
ภัณฑารักษ์ : กลุ่มชั่วคราว

กิจกรรมในวันเปิดนิทรรศการ 26 สิงหาคม 2554
-   18.00 น. ประธานกล่าวเปิดนิทรรศการพร้อมกับเปิดสัญญาณระบบเครือข่าย
-   18.15 น. ลงทะเบียนเพื่อรับสูจิบัตรนิทรรศการ
-   18.30 น. เชิญแขกผู้มีเกียรติร่วมรับประทานอาหาร

 



















Call 1900-888-770

โครงการตามความคิดของการสร้างงานและสร้างเสียงที่มีการดำเนินงานในการให้บริการการสื่อสารโทรคมนาคม รู้จักกันเพียงแค่เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในรูปแบบของเสียงที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถป้อนและดึงข้อมูลผ่านทางโทรศัพท์

ผมเสนอความคิดในการเชิญชวนศิลปินจำนวนหนึ่ง เมื่อ พิสิฎฐ์กุล ควรแถลง ขอให้ผมเข้าร่วมแสดงนิทรรศการ /การแทรกแซงของพื้นที่การเคลื่อนไหว ในรูปแบบของกลุ่มบริการมอเตอร์ไซค์รับจ้าง

ความคิดที่จะย้อนกลับสู่พื้นที่การเคลื่อนไหวไปยังพื้นที่ของเสียง คำว่า "การเคลื่อนไหว" จะเปลี่ยนเสียงรอบข้างที่มีอยู่จริงๆบนท้องถนน ไปยังสถานที่ที่ไม่มีตัวตน (ไม่มีสถานที่นั้นอยู่) ซึ่งไม่จำกัดวิธีการเข้าถึงเสียงเหล่านั้น คำเชิญที่ผมเสนอให้ Pisitakun เป็นส่วนน้อยของสิ่งที่เราจะเห็น แต่เราควรฟัง นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ที่ตั้งอยู่ในเซิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการโทรคมนาคม ผมจะขอเรียกว่า "ถ้ำ" ซึ่งเป็นการแปรเปลี่ยนความจริงที่ถูกเคลื่อนย้าย ดั่งในปัจจุบันที่คนถูกตั้งไว้ที่อื่นและจะเคลื่อนย้ายเลื่อนไหลไปตามการฟัง


The project based on the idea of building and generating audible work that operating in the Audiotext telecommunication service, simply known as voice response application that allows users to enter and sometime retrieve information over the phone.

I propose the idea of inviting number of artists choices by the artist Pisitakun Kunatalaeng when he asked me to join the exhibition/intervention of the mobility space in form of Motor-Taxi service group.

The idea is to reverse the mobility space to an audible space, the word "mobility" is transformed the ambient sound of reality on street to the non-place with no limit of access. the invitation that i propose to Pisitakun is become less of what we shall see but what should we listen to. Moreover, the space is situated in a telecom provider server, hereby i shall call it "a cave" in which transform the being displacement of reality. the present of a person is set to elsewhere and move in the flow of listening methodology.


                                                                                                                                            

วันอังคารที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2554

นิทรรศการ “3147966 cm3” + THAI ASS ”











นิทรรศการ “3147966 cm3” + THAI ASS ”
พิธีเปิด วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน 2554 เวลา 21.00 .
เปิด วันที่ 7 เมษายน 2554 - วันที่ 7 มิถุนายน 2554
สถานที่ หอศิลป์บริการ (ด้านข้าง หอศิลป วัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร)
ศิลปิน ต่อลาภ ลาภเจริญสุข , วารารี่ นิโคเลย์            
ประเภทของศิลปะ ภาพถ่าย , แกลลอรี่ เคลื่อนที่
               
ในนิทรรศการของหอศิลป์บริการครั้งนี้ประกอบด้วยนิทรรศการศิลปะ 2 นิทรรศการ ด้วยกันคือ1. “3147966 cm3” 2 . THAI ASS โดยมีศิลปิน 2 ท่าน คือ ต่อลาภ ลาภเจริญสุข และ วารารี่ นิโคเลย์ โดย แต่ละนิทรรศการมีประเด็นที่แตกต่างกันออกไป ในนิทรรศการ ต่อลาภ ลาภเจริญสุข ทำแกลลอรี่ที่ใช้ชื่อว่า“3147966cm3” ต่อลาภนำรถยนตร์มาปรับปรุงดัดแปลงจนกลายมาเป็นแกลลอรี่ “3147966cm3” และชักชวนศิลปินเขามาแสดงงานในพื้นที่นั้นๆแกลลอรี่ที่สามารถเคลื่อนย้ายไปตามชุมชนต่างหาบรรยากาศตามที่ต้องการและกลุ่มคนที่ไม่ซ้ำเดิม แกลลอรี่ของต่อลาภคือรถที่ชักชวนศิลปินเพื่อนสนิทมิตรสหายมาร่วมแบ่งปันสุนทรียะกันในแกลลอรี่ “3147966cm3” โดยนิทรรศการของต่อลาภในครั้งนี้หอศิลป์บริการได้ทำงานร่วมกับโครงการ เชียงใหม่นาว ที่จะจัดขึ้นในหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ในวันและเวลาเดียวกัน เพื่อเป็นการเชื่อมโยงหอศิลป์กับพื้นที่ของศิลปะในสาธารณะเข้าไว้ด้วยกัน
                 
                  ในนิทรรศการของ วารารี่ ที่ชื่อว่า “THAI ASS” วารารี่เป็นศิลปินหญิงที่ทำงานภาพถ่าย ในงานชุดนี้เธอสนใจที่จะเปลี่ยนทัศนคติของตัวเอง จากการทำงานที่เคยได้รับแรงบรรดาลใจจากภายใน กลับเปลี่ยนในงานชุดนี้ ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากภายนอก ทั้งในด้านสังคมและชีวิตผู้คนรอบข้าง โดยงานชุดนี้วารารี่สนใจภาพลักษณะความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในสังคมไทยที่ถูกสร้างขึ้น และความเป็นจริงที่ถูกซ้อนอยู่ผ่านภาพถ่ายด้านหลังของยานพาหนะต่างๆที่วิ่งอยู่ตามท้องถนนในเมืองและชนบท ทั้งสองนิทรรศการนำ เสนอด้วยมุมมองที่แตกต่างทั้งในด้านเทคนิคและวิธีการ ตัวหอศิลป์บริการเองเป็นเพียงพื้นที่หนึ่งที่นำสองนิทรรศการนี้มาอยู่ในพื้นที่เดียวกัน โดยหวังจะให้ผลงานแต่ละชิ้นแสดงความเป็นเอกเทศของตัวมันเองต่อผู้ชมอย่างเต็มที่โดยไม่ผ่านการตีความและเชื่อมโยงจากตัวภัณฑารักษ์


MUSEUM SERVE

PRESENT
Exhibition “3147966 cm3” + THAI ASS ”
Openeing reception on 7th April, 2011 at 9 p.m.
Open 7th April,2011 - 7 th June,2011
Place MUSEUM SERVE (beside Bangkok Art and Culture Centre)
Artists Torlarp Larphareonsuk and Valerie Nikolay
Genre Photographs and mobile gallery.

This time for the MUSEUM SERVE’s exhibition is included with 2 sub-exhibition,which are “3147966 cm3” and “THAI ASS” by 2 artists, Torlarp Larpchareonsuk and Vlerie Nikolay. “3147966 cm3” is the mobile gallery which was modified from a car, Torlarp made it and asked for the artists to show in his. His idea is to made a gallery that can take the audiences into a different environ- ments and sharing their ideas and opinions. The “3147966 cm3” gallery is a project in collaborated with the exhibition “Chiangmai Now” which hosts in Bangkok Art and Culture Centre in the same period to connect the art in the art space and public space together.

Valerie Nikolay, a photography artist’s exhibition “Thai Ass” is a change for her. In this exhibition, she took the inspiration from outside, people and society around herself. She’s mainly interested in the Thai social which projects the truth that she’d seen and the more truth underneath by the photographs she’d taken. All of her photographs are vehicles’ backside that she took from the street both in city and local. Both exhibitions, “3147966 cm3” and “THAI ASS ” is different in techniques and presentations, but MUSEUM SERVE is hoped that all of you audiences will be appreciation in these two exhibitions individually by no guidance and not any interpretation from the curators themselves.



วันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เรื่องเล่าของวินมอเตอร์ไซค์รับจ้าง

ถ่ายเมื่อ: 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 ( ณ หอศิลป์บริการ )
















A Tale of Motorcycle Taxis

Article : CLAUDIO  SOPRANZETTI


Every day millions of urban dwellers navigate Bangkok on the back of a motorcycle taxi, zigzagging through traffic or flowing into the sleepy movement inside sois. Outside our homes, offices, or shopping malls small groups of drivers sit in the ear-splitting noises of the city, eyes up to see potential clients. Few words are muttered and sat of their backseats we get though the city to our destinations. Bills pass hands and soon we forget of the vessels and their captains who allow us to navigate the city.

Today about 200,000 drivers operate in Bangkok, allowing the city to function, people to reach their destination in time, newspapers to be ready in shops in the morning and lunches to be delivered in offices. 200,000 stories that move every day thought the city, meet with others, even just for a moment, before getting back to their starting points, ready to deliver a new round of people and goods into the eager veins of Bangkok. These stories, as many others, create the chaotic order of Bangkok and, I believe, tell to the attentive eyes a long forgotten tale: the tale of a city born along quiet canals and transformed into a roaring metropolis of ingenuity and ready-solutions.

Bangkok was established as the capital of Siam in 1782 and built to reproduce the aquatic splendor of Ayutthaya. It wasn’t until the XIX century that the calm flow of water was cut by the running speed of horses and engines. The first paved street, Charoen Krung (prosperity of the city), was laid in 1861 and the next century saw a steady expansion of the street networks, carved onto a geography of canals, branching off few mayor waterways. New streets were built crossing canals, filling them with soil that few years before had been extracted to cut them. Soon in the name of “civilization” and “development” Bangkok looked like any other big city, struggling to keep the pace of modernity.

It was not until the 1950s, however, that the urban landscape of Bangkok was forever reshaped, driven by massive internal migrations, new affordable transportation technologies, and American dollars. As part of the post-Korea War collaboration between Thailand and the United States , a group of American planners for the Massachusetts Institute of Technology (MIT) was called to Thailand to draft the first comprehensive Master Plan for Bangkok, the infamous “Greater Bangkok Plan 2533”. Also known as the Litchfield Plan, the new template for the city transformation revolved around two central ideas: transforming Bangkok into a car-based city, as was happening in American metropolis; and introducing zoning principles, developing secondary road networks. As it often happens, only some parts of the proposal were accepted. As big road arteries were built to accommodate the new cars, brought by the urban wealthy, the small streets were left in the hands of private land developers, who hastily built small sois, before selling newly divided plot of lands to house developers. Huge amounts of money flew into the pockets of these land developers as the city expanded outward at a growing pace, leaving back a tree-like road network of wide streets and narrow, long, and often unconnected sois where would be impossible develop a far-reaching transportation system.

It was during the same time that owning a private mean of transportation became important and possible for people in and outside Bangkok. As the wealthier part of the population started to buy cars, for the majority of Thai people the motorcycle became their entry way into “free movement”. In 1964 Honda opened the first out of Japan production line in Thailand. By 1976 the four main world bike producers, the so called four sisters (Honda, Kawasaki, Suzuki, and Yamaha) all had established production in Thailand, not only offering to people the technology to move around but also reason to come to the city to be part of the industrial boom of Thailand.

Thousands and thousands of people started to came into Bangkok from the provinces in search for jobs, education, opportunities, or just a piece of the glittering modernity offered by the growing metropolis. Soon this immense sprawl of small and big roads, wooden houses and concrete building, shop-houses and commercial centers teemed with life, sounds, noises, and smells. Soon the uncontrolled urban structure started to reveal its incurable disease as traffic gridlocks and blocked “pak soi” became the daily experience of its inhabitants.


The complex mix that makes the motorcycle taxis flourish in Bangkok was now in place. A disconnected soi system and growing traffic problem, a big number of motorcycles and en expanding city, a multitude of cheap labor force, it just took someone to come up with the idea of motorcycle taxi to ignite the fuse for the explosive diffusion of motorcy rapjang in the city. The spark started in Soi Ngam Dumphli and in few years inflamed the whole of Bangkok, helped by the layoffs of the 1997 economic crisis.


Staged in this setting, tales of proud migrants coming to Bangkok looking for fortune and trying to make it driving a motorbike take place around us every day, shaping the texture of this city. Thousands of drivers work as connectors in a city of disconnected form, delivering people, goods, ideas not only inside Bangkok but also between the city and the countryside, where they come from and often go back to regularly. It is in the complex relation between movement and stillness that the motortaxi drivers flourish and this art projects finds its strength.


It is in this unstable balance between their roles as movers, messengers, delivery and their stable presence in the daily life of the soi discussing, reading, betting, and keeping an eye on the safety of the neighborhood that the drivers find their place in the ecology of the city.

 It is in the relation of movement between the urban and the rural and their participation of the economic and social life of both the city and the village that the drivers find their place as cultural brokers and connectors.

It is in the relation between experiencing art as a fixed aesthetic pleasure of observation and its filtering into public spaces, its roaming movement in the city, its challenging established boundaries that this project finds its core and inspiration.

Often when we lose our way along the streets of Bangkok we stop, just for a second, to ask directions to a group of motorcycle taxi drivers sitting on the street. For one time, when Thai art seems to have lost its way to find a large public, to exit the gallery and the museum, we can try to stop and ask the drivers again for directions, follow them and maybe a new surprising geography will be revealed to us. This exposition takes that risk. Tuck in your knees and be ready to ride.



เรื่องเล่าของวินมอเตอร์ไซค์รับจ้าง
บทความ : เคลาดิโอ  โซปรานเซ็ตติ
ผู้แปล     : ริญญ์นภัส  วิรัตน์ธนันท์

               ทุกวันชาวเมืองนับล้านต่างฝ่าฟันการเดินทางในกรุงเทพฯ ด้วยการนั่งซ้อนท้ายมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ที่พาเราลัดเลาะการจราจร หรือขับเข้าไปในซอยอย่างเรื่อยเปื่อย  ไม่ว่าจะเป็นข้างนอกบ้าน ที่ทำงาน หรือห้างสรรพสินค้า  กลุ่มวินมอเตอร์ไซค์ก็นั่งเฝ้ารอลูกค้ารายต่อไป ท่ามกลางเมืองที่เต็มไปด้วยเสียงที่บาดลึกลงไปถึงแก้วหู  หลังจากเจรจากันเล็กน้อย เราก็นั่งซ้อนท้ายมอเตอร์ไซค์เพื่อไปยังจุดหมายที่เราต้องการ แล้วเราก็ยื่นเงินค่าโดยสารให้ ไม่ช้าเราก็ลืมไปว่ามอเตอร์ไซค์รับจ้างนี่แหละที่ช่วยให้เราเดินทางไปทั่วกรุงเทพฯ ได้

               ปัจจุบันกรุงเทพฯ มีผู้ขับมอเตอร์ไซค์รับจ้างกว่า 200,000 คน ที่ช่วยให้เมืองของเราดำเนินไปอย่างปกติ ผู้คนเดินทางถึงที่หมายตรงเวลา หนังสือพิมพ์มาถึงร้านค้าในตอนเช้า และอาหารกลางวันที่ถูกส่งไปตามออฟฟิศ  เรื่องราวกว่า 200,000 เรื่องของผู้ขับมอเตอร์ไซค์รับจ้างที่สัญจรไปทั่วเมือง และได้พบปะผู้คนเพียงช่วงเวลาสั้นๆ ก่อนจะกลับไปยังจุดเริ่มต้น พร้อมที่จะรับผู้โดยสารหรือสินค้ารอบใหม่ เพื่อเดินทางออกสู่ถนนหลากสายในกรุงเทพฯ  เรื่องราวเหล่านี้เองที่สร้างสีสันกับกรุงเทพฯ  ผมยังเชื่อว่าเรื่องต่างๆนี้ ทำให้หลายคนหวนนึกถึงอดีตของเมืองที่สร้างขึ้นเรียบคลอง และถูกแปรสภาพจนกลายเป็นมหานครอันเพียบพร้อมไปด้วยความล้ำสมัย

               กรุงเทพฯ ได้รับการสถาปนาให้เป็นเมืองหลวงของประเทศไทยในปีพ.. 2325 และได้ถูกสร้างขึ้นมาให้รายล้อมไปด้วยแม่น้ำลำคลองเช่นเดียวกับอยุธยา  แต่ภายในศตวรรษที่ 19 สายน้ำที่เงียบสงบก็ถูกทำลายลงด้วยความเร็วในการวิ่งของม้าและเครื่องยนต์  ถนนเจริญกรุงซึ่งเป็นถนนสายแรกได้ถูกสร้างขึ้นในปีพ.. 2404  ในศตวรรษถัดมาการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของถนน ได้ส่งผลต่อสภาพทางภูมิศาสตร์ อันทำให้เกิดเส้นทางในการเดินทางทางน้ำมากขึ้น  คลองที่เพิ่งขุดมาได้ไม่กี่ปีก่อนหน้านั้น ต่างถูกถมเพื่อใช้ในการสร้างถนนเส้นใหม่  เพื่อให้ได้ขึ้นชื่อถึงความศิวิไลซ์และความก้าวหน้ากรุงเทพจำต้องดิ้นรนกับความเร็วของการก้าวสู่ความล้ำสมัย เช่นเดียวกับเมืองอื่นๆ

สภาพ แวดล้อมของกรุงเทพฯ ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิงในช่วงปีพ.. 2493 อันเป็นผลมาจากการย้ายถิ่นอาศัยของคนในประเทศ การคมนาคมที่ถูกลง และค่าเงินอเมริกัน  ด้วยของความร่วมมือระหว่างประเทศไทย และประเทศสหรัฐอเมริกา ภายหลังสงครามเกาหลี กลุ่มนักออกแบบชาวอเมริกันจาก Massachusetts Institute of Technology (MIT) ได้เดินทางเข้ามายังประเทศไทย เพื่อช่วยในการร่างผังเมืองรวม (Comprehensive Plan) ให้กับกรุงเทพฯ โดยใช้ชื่อว่า ผังนครหลวง 2533” (Greater Bangkok Plan 2533) หรือที่รู้จักกันในนามของผังลิทช์ฟิลด์(Litchfield Plan)  ผังที่ร่างขึ้นมาเพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบของกรุงเทพฯนี้  มีจุดประสงค์ที่สำคัญด้วยกันทั้ง 2 ประการ คือ การทำให้กรุงเทพฯ เปลี่ยนมาใช้รถยนต์ในการคมนาคมหลัก เช่นเดียวกับประเทศสหรัฐอเมริกา และอีกประการคือ การเผยแพร่หลักการการแบ่งเขต เพื่อใช้ในการพัฒนาเครือข่ายถนนสายนอก  แน่นอนว่าผังที่ร่างขึ้นมานั้นได้รับการอนุมัติเพียงบางส่วน  ในขณะที่ถนนสายหลักถูกสร้างขึ้นเพื่อรองรับรถยนต์ของผู้มีฐานะ ชะตากรรมของถนนสายเล็กๆกลับ ตกอยู่ในมือของนักพัฒนาที่ดิน ซอยเล็กๆถูกสร้างขึ้นมาอย่างรวดเร็ว ก่อนที่พวกเขาจะรีบแบ่งขายที่ดินให้กับโครงการบ้านจัดสรร ในช่วงเวลาที่ตัวเมืองได้ขยายออกไปอย่างต่อเนื่อง  เงินทองหลั่งไหลเข้ากระเป๋าบรรดานักพัฒนาที่ดินเหล่านั้น โดยที่พวกเขาทิ้งไว้เพียงแต่ถนนที่แตกหน่อไปเป็นซอยเล็ก ซอยน้อย ที่มักจะไม่เชื่อมต่อกัน และระบบขนส่งก็ไม่สามารถเข้าถึงอีกด้วย

               ตอนนั้นเอง ผู้คนที่อาศัยอยู่ในกรุงและนอกกรุงต่างคิดว่า การมียานพาหนะส่วนตัวเป็นสิ่งสำคัญ  ในขณะที่ส่วนหนึ่งของประชากรที่มีฐานะพากันทยอยซื้อรถยนต์ แต่สำหรับคนไทยส่วนใหญ่ การได้ครอบครองมอเตอร์ไซค์เป็นประตูสู่เสรีภาพ(free movement)  ในปีพ.. 2507 บริษัท ฮอนด้า ได้เปิดโรงงานประกอบชิ้นส่วนในประเทศไทย ซึ่งเป็นโรงงานต่างประเทศแห่ง แรกของฮอนด้า  ต่อมาในปีพ.. 2519  ผู้ผลิตจักรยานยนต์หลักทั้ง 4 บริษัท หรือที่เรียกว่าบริษัทพี่น้อง (ฮอนด้า, คาวาซากิ, ซูซูกิ, และ ยามาฮ่า) ต่างพากันมาเปิดโรงงานในประเทศไทย และได้มอบเทคโนโลยีการขับเคลื่อนให้แก่ประชาชน รวมถึงเหตุผลในการเดินทางเข้าเมือง เพื่อมาเป็นส่วนหนึ่งของการเติบโตทางอุตสาหกรรมในประเทศไทย

               ชาวต่างจังหวัดจำนวนนับพัน เดินทางเข้ามายังกรุงเทพฯ เพื่อมาหางาน ความรู้ โอกาส หรือแค่ให้ได้เห็นเศษเสี้ยวของความทันสมัยที่มาจากการเติบโตของมหานคร  อีกไม่ช้าถนนเล็กใหญ่ที่ไขว้กันไปมา บ้านไม้ และตึกคอนกรีต ห้องแถว และศูนย์สรรพสินค้าทั้งหลาย ก็จะเต็มไปด้วยผู้คน เสียง และกลิ่น  อีกหน่อยโครงสร้างของเมืองที่ไร้ซึ่งการควบคุม ก็จะแสดงให้เห็นถึงโรคติดต่อที่ไม่สามารถรักษาได้ นั่นคือการจราจรที่ติดขัด ที่กีดขวางแม้กระทั่งปากซอย อันกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของผู้อยู่อาศัย

               การผสมผสานของความซับซ้อนนี้ทำให้กรุงเทพฯเต็มไปด้วยมอเตอร์ไซค์ รับจ้าง  ปัญหาของซอยที่ไม่ทะลุกัน การจราจรที่ติดขัด จำนวนรถมอเตอร์ไซค์ที่เอ่อล้น การขยายตัวของเมือง ประกอบกับค่าแรงงานที่แสนถูก ทำให้ใครสักคนเกิดความคิดในการทำมอเตอร์ไซค์โดยสารขึ้น ซึ่งเป็นที่มาของมอเตอร์ไซค์รับจ้าง  ชนวนทางความคิดนี้เริ่มขึ้นในซอยงามดูพลี และในอีกไม่กี่ปีต่อมามันก็ลุกลามไปทั่วกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นผลมาจากจำนวนผู้ตกงานอันเนื่องมาจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในปีพ.. 2540

               เรามักจะเห็นแทบทุกวันว่า รอบๆตัวเรานั้นมีผู้คนมากมายที่ย้ายถิ่นฐานเข้ามาในกรุงเพื่อแสวงหาโชค และพยายามหารายได้ด้วยการขับมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ซึ่งสร้างสีสันให้กับกรุงเทพฯ  ผู้ขับมอเตอร์ไซค์รับจ้างพันกว่าคนทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมต่อภายในเมืองไม่เชื่อมถึงกัน  พวกเขาทำหน้าที่ขนส่งผู้โดยสาร สินค้า และแนวคิด ที่ไม่ได้จำกัดเฉพาะแต่ในกรุงเทพฯ แต่ยังรวมไปถึงเส้นทางระหว่างกรุงเทพฯและภูมิลำเนาของผู้ขับมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ที่พวกเขามักจะกลับกันไปเป็นประจำ ความเกี่ยวเนื่องที่ซับซ้อนระหว่างการเคลื่อนที่และการคงที่ ทำให้มอเตอร์ไซค์รับจ้างเป็นที่แพร่หลาย และยังเป็นประเด็นสำคัญที่ทำให้โครงการศิลปะนี้มีประสิทธิภาพ

เพราะความไม่สมดุลระหว่างบทบาทหน้าที่ของผู้ขับมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ไม่ว่าจะเป็นในฐานะของคนขนของ คนส่งเอกสาร คนส่งของ ผนวกกับกิจวัตรประจำวันในซอยที่จำเจ ตั้งแต่การพูดคุยกัน อ่านหนังสือ เล่นพนัน และการสอดส่องดูแลความปลอดภัยของย่านที่พักอาศัย ทำให้วินมอเตอร์ไซค์เหล่านี้ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศน์ของเมืองหลวง

ความสัมพันธ์ระหว่างตัวเมืองและชนบท โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมทางด้านเศรษฐกิจ และสังคมของทั้งในเมืองและหมู่บ้าน ทำให้ผู้ขับมอเตอร์ไซค์รับจ้างรับหน้าที่เป็นตัวแทนทางด้านวัฒนธรรม

               โครงการนี้ได้ค้นพบความสำคัญ และแรงบันดาลใจ อันมาจากการสัมผัสประสบการณ์ทางศิลปะโดยการสังเกต การกลั่นกรองประสบการณ์ออกมาสู่พื้นที่สาธารณะ การเคลื่อนที่ภายในเมืองอย่างไม่หยุดนิ่ง และการท้าทายขอบเขต

               บ่อยครั้งที่เราหลงทางอยู่บนท้องถนนของกรุงเทพฯ เรามักจะหยุดครู่หนึ่ง เพื่อถามทางจากวินมอเตอร์ไซค์ที่นั่งอยู่ตามริมถนน  เมื่อศิลปะไทยแลดูไร้ทิศทางในการค้นหาฝูงชน และไม่สามารถหาทางออกจากแกลเลอรี่ หรือพิพิธภัณฑ์ได้ เราอาจจะหยุดเดินเพื่อถามทางคนขับอีกครั้ง จากนั้นก็ตามพวกเขาไป และไม่แน่เราอาจจะได้พบเส้นทางใหม่ที่ไม่เคยเห็นมาก่อน   นิทรรศการนี้ก็เลือกที่จะเสี่ยงในแบบเดียวกัน  ดังนั้นจงนั่งให้เรียบร้อย และเตรียมตัวให้พร้อมที่จะเดินทาง   

วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

จะทำอย่างไร...เมื่อพวกเราหลงทาง ?

(What shall we do when we lose our way ?)


สถานที่จัดนิทรรศการ : หอศิลป์บริการ (วินมอเตอร์ไซค์รับจ้างข้างหอศิลป์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย)     
ระยะเวลาในการจัดแสดง : 6 .. - 6 เม.. 2554
ศิลปิน : นาย ศุภพงศ์ เหล่าธีรศิริ
ร่วมสัมนาพิเศษหัวข้อ " ความสำคัญของมอเตอร์ไซค์รับจ้างกับศิลปะชุมชน"
วิทยากรโดย : เคราดิโอ  โซปรานเซนติ
ภัณฑารักษ์ : นาย สรศักดิ์ แซ่โง้ว และ นาย พิสิฎฐ์กุล ควรแถลง



นิทรรศการ
จะทำอย่างไร...เมื่อพวกเราหลงทาง ?(What shall we do when we loseour way?)”
เป็นนิทรรศการศิลปะที่นำเสนอผ่านผลงานวาดเส้นจำนวนทั้งหมด 9 ภาพ ที่ศิลปินได้ขอให้ผู้ประกอบอาชีพมอเตอร์ไซด์รับจ้าง ณ หอศิลป์บริการ ทั้ง 9 ท่าน ช่วยวาดภาพแผนที่เส้นทางในการเดินทางไปยังบ้านในภูมิลำเนาของแต่ละท่าน และด้วยเงื่อนไขเฉพาะของพื้นทีิ่ติดตั้งผลงาน ซึ่งเป็นพื้นที่บริเวณหลังเสื้อกั๊กของวินมอเตอร์ไซด์รับจ้าง โดยถ้าหากมองกันอย่างผิวเผินนั้นอาจคิดได้ว่าภาพแผนที่ดังกล่าวคือ แผนที่แสดงเส้นทางที่มอเตอร์ไซด์รับจ้างให้บริการแก่ผู้โดยสารหรือเป็นภาพแผนที่ในเขตกรุงเทพมหานคร


ผลงานวาดเส้นภาพแผนที่ในนิทรรศการครั้งนี้ ถูกสร้างขึ้นโดยให้มีความสัมพันธ์กับบริบทของพื้นที่จัดแสดง เช่น ความสัมพันธ์ของการเป็นวินมอเตอร์ไซด์รับจ้าง ที่เป็นอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง หรือความสัมพันธ์ของตัวผู้ประกอบอาชีพวินมอเตอร์ไซด์รับจ้างเอง ที่เป็นผู้เดินทางจากภูมิลำเนาในต่างจังหวัดเพื่อมาประกอบอาชีพในกรุงเทพ ฯ พร้อมทั้งยังได้มีส่วนรวมในการสร้างสรรค์ผลงาน

จะทำอย่างไร...เมื่อพวกเราหลงทาง ? (What shall we do when we loseour way?)” เป็นนิทรรศการที่มีลักษณะเปิดกว้างให้ผู้ชมสามารถคิดวิเคราะห์และตีความได้อย่างอิสระ โดยมีประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับ เรื่องราวการเดินทางของผู้ที่อาศัยอยู่ในต่างจังหวัด ที่ต้องจากภูมิลำเนาเพื่อมาประกอบอาชีพในกรุงเทพมหานคร
ผลงานในนิทรรศการครั้งนี้ ถูกสร้างขึ้นโดยให้มีความสัมพันธ์กับบริบทเฉพาะของพื้นที่จัดแสดง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกัับการเดินทาง พร้อมทั้งยังเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างศิลปินและผู้ขับขี่มอเตอร์ไซด์รับจ้าง ณ หอศิลป์บริการ

ภาพแผนที่ถือเป็นภาพย่อหรือตัวแทนของพื้นที่ การที่เราสามารถวาดภาพแผนที่ได้นั้น ย่อมแสดงให้เห็นว่า เรามีความรู้ ความเข้าใจ และความคุ้นเคยในพื้นที่นั้น ๆ และเมื่อเราหลงทาง สิ่งอันดับแรก ๆ ที่เรามักจะนึกถึงกันนั้นก็คือแผนที่ ซึ่งการหลงทางนั้น ย่อมแสดงให้เห็นว่า เราไม่มีความรู้ ความเข้าใจ และความคุ้นเคยในพื้นที่นั้น ๆ

การเดินทางในแต่ละวัน จุดเริ่มต้นของการเดินทางนั้นมักจะเริ่มต้นจากที่บ้าน และจุดหมายปลายทางของการเดินทางนั้นก็มักจะจบลงที่บ้านด้วยเช่นกัน

นิทรรศการ จะทำอย่างไร...เมื่อพวกเราหลงทาง ? (What shall we do when we lose our way?)” เป็นนิทรรศการที่มีลักษณะเปิดกว้างให้ผู้ชมสามารถคิดวิเคราะห์และตีความได้อย่างอิสระ โดยมีประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวของพิ้นที่และการเดินทาง



"WHAT SHALL WE DO WHEN WE LOSE OUR WAY?"
SOLO EXHIBITION BY SUPAPONG LAODHEERASIRI
6 FEB - 6 APR 2011 AT MUSEUM SERVE, BKK
(MOTORCYCLE TAXI STATION NEXT TO BACC)

OPENING SUN 6 FEB 2011 AT 06:00 PM
SPECIAL SEMINAR TITLE
"IMPORTANCE OF MOTORCYCLE TAXI AND PUBLIC ART"
SPEAKER : CLAUDIO SOPRAZETTI
Ph.D. CANDIDATE, HARVARD UNIVERSITY

CURATED BY SORASAK SAENGOW AND PISITAKUN KUANTALAENG


9 Motorcyclists at motorcycle taxi station were asked to draw up a hometown map where they were from presenting as artworks conceptualized by the artist, Supapong Laodheerasiri. Each map drawing then was inserted into a sleeve of their motorcycle jackets en route to be seen by passengers as riding around Bangkok. At a first glance the map seems to indicate areas of the city, though looking closely it represents entirely different landscapes layered on top of street views in Bangkok.

“What shall we do when we lose our way?” delivers a concept of public art through multi-layered relationships of artist and motorcyclists in a subject of travelling simultaneously in mentality and in the actual space. As map represents elements of a place, our ability to draw up a map then means a clear understanding of a particular area. When we get lost, the first that comes to mind is to find a map, in turns that is signifying as a need to put in place a space, and to be relieved from foreignness in the area.

On daily commuting, our starting point is from home and the destination also is back to home.“What shall we do when we lose our way?” is a public art project posing questions, exploring multiple stories of space and travelling. The exhibition suggests an idea that opens up for free dialogues and interpretations from all viewers.